หญิงเมกา ออกมาเล่าประสบการณ์หลังจากที่เธอถูกเรียกเก็บเงิน ซึ่งเป็น ค่าใช้จ่ายโรงพยาบาล กว่าสองหมื่นบาท แม้เธอไม่ได้รับการรักษาหรือได้รับยาเลยก็ตาม เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน สำนักข่าว ABC รายงานว่า เทย์เลอร์ เดวิส หญิงชาวอเมริกันที่อาศัยอยู่ในรัฐจอร์เจียได้เดินทางไปยังโรงพยาบาล หลังจากที่เธอได้รับบาดเจ็บที่บริเวณศีรษะ โดย เดวิส เล่าว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม และเธอนั่งรอแพทย์ในห้องฉุกเฉินนานถึง 7 ชั่วโมง
ซึ่งเธอไม่ได้รับการรักษา ไม่ได้เจอแพทย์
แต่เธอถึงกับต้องช็อกหลังจากที่เธอพบว่าเธอต้องจ่ายเงินเป็นมูลค่ากว่า 23,000 บาท แม้ว่าเธอจะไม่ได้รับการรักษาใดๆเลยก็ตาม ในตอนแรกเธอคิดว่าเหตุการณ์นี้เป็นความผิดพลาดของทางโรงพยาบาล อย่างไรก็ตามเมื่อเธอสอบถามทางโรงพยาบาลแล้ว เธอก็ทราบว่าค่าใช้จ่าย 23,000 นั้นเป็นค่าใช้จ่ายในการเข้าห้องฉุกเฉิน และเธอจะต้องจ่ายค่าใช้จ่ายจำนวนดังกล่าว ไม่ว่าเธอจะพบแพทย์หรือไม่ก็ตาม
เดวิส ยังได้ให้สัมภาษณ์อีกว่าจากเหตุการณ์นี้ทำให้เธอรู้สึกลังเลว่าเธอจะเข้าห้องฉุกเฉินไหม หากเธอได้รับบาดเจ็บอีกในอนาคต ด้านโรงพยาบาลออกมาแถลงว่าพวกเขากำลังตรวจสอบเรื่องนี้อยู่
อย่างไรก็ตามเหตุการณ์แบบนี้ไม่ได้ถือเป็นเรื่องแปลกในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยประเทศสหรัฐอเมริกาถือเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขสูง ยกตัวอย่างเช่น การใช้บริการรถพยาบาลที่อาจจะสูงถึงสี่หมื่นบาท
รพ.ธรรมศาสตร์ ร่ายยาวชี้แจง โต้กระทรวงต่างประเทศ กรณียุติการ นำเข้าโมเดอร์นา จากเอกชนโปแลนด์ เรื่องนำวัคซีน 5แสนโดสจาก 1.5 ล้านโดสไปขาย เผยไม่เคยได้ยินเรื่องกระทบความสัมพันธ์
เพจเฟซบุ๊กของ โรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ชี้แจงข้อโต้แย้งจากกระทรวงการต่างประเทศเรื่องนำวัคซีนโมเดอร์นาบริจาคจากโปแลนด์ไปแบ่งขาย ระบุว่า วันที่ 149 ของศูนย์รับวัคซีนธรรมศาสตร์รังสิตและวันที่ 130 ของศูนย์ธรรมศาสตร์ Home Isolation
วันนี้มารายงานเพิ่มเติม นอกกำหนดการที่จะมาทุกวันจันทร์ เราไม่ได้มาแจ้งข่าวเรื่องโควิด เพราะสถานการณ์ยังทรงตัวไม่ต่างจากเมื่อวานนี้ ทั้งสถานการณ์ในประเทศ และสถานการณ์ใน รพ.ธรรมศาสตร์ แต่มีประเด็นที่เพิ่มเติมจากแถลงการณ์ของกระทรวงต่างประเทศ เรื่องการรับบริจาควัคซีนจากโปแลนด์ ที่เราแจ้งไปแล้วเมื่อวานว่า “จบไปแล้ว” โดยไม่มีการส่งมอบวัคซีนบริจาคใดๆ มายังประเทศไทย เมื่อธรรมศาสตร์ไม่สามารถมีหนังสือจากทางการไทยรับรองว่ารัฐบาลไทยเห็นชอบให้ธรรมศาตร์รับบริจาคโมเดอร์นา จำนวน 1,500,000โดสจากหน่วยงานของรัฐในโปแลนด์ได้
วันนี้กระทรวงการต่างประเทศได้ ต่อความให้ยาวขึ้นอีก ด้วยการออกแถลงการณ์ว่า เหตุผลที่ไม่ออกหนังสือรับรองให้ธรรมศาสตร์นั้น มีสองประการ
คือหนึ่ง ไม่มีความยินยอมจากบริษัทผู้ผลิตวัคซีนในการที่พวกเราจะไปขอรับบริจาคโมเดอร์นามาใช้ในประเทศไทย ประการหนึ่ง อีกประการหนึ่ง กต. แถลงว่า ได้ทราบว่าในจำนวนวัคซีน 1.5 ล้านโดสที่จะได้รับบริจาคมานั้น ธรรมศาสตร์จะนำมาฉีดให้ประชาชนทั่วไปโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ เพียง 500,000 โดส ส่วนอีกหนึ่งล้านโดสจะให้เอกชนที่เป็นคู่สัญญากับมธ. นำไปจำหน่ายโดยเรียกเก็บเงิน กต.เกรงว่าจะเกิดความเสียหายแก่ประเทศ และขัดเจตนาของทางโปแลนด์และประเทศไทยจะเสียชื่อเสียง จึงไม่ยอมออกจดหมายรับรองการขอรับบริจาคให้แก่ มธ.
ข้อสังเกตเบื้องต้นของพวกเราก็คือ กต.ไม่เคยแจ้งเหตุผลข้อหลังนี้ให้พวกเราทราบมาก่อนเลย ทั้งด้วยวาจา ผ่านตัวแทนที่ได้รับมอบหมายให้ดีลกับ มธ. และไม่เคยสอบถามรายละเอียดใดๆ เกี่ยวกับ ‘การค้าวัคซีน’ นี้ มายังมธ.เลย แม้ในจดหมายที่เป็นทางการที่ ทาง กต.ตอบมายังอธิการบดี มธ. ก็ไม่เคยแจ้งพวกเรา ซึ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐด้วยกันว่า เกรงจะมีปัญหาเรื่องนี้ (เพราะหากแจ้งเช่นนั้น มธ. คงจะได้เข้าปรึกษาหารือกับ กต. และหาแนวทางอื่นในการดำเนินการร่วมกันเพื่อประโยชน์ของประเทศได้ทันท่วงที) คำอธิบายเหตุผลเรื่องนี้ เพิ่งมาปรากฎขึ้นในวันที่ 2 พ.ย. วันนี้เอง
ต่อเหตุผลทั้งสองข้อที่ กต. แจ้งว่าเป็นเหตุผลที่ทำให้ไม่สามารถรับรองการรับบริจาคให้แก่ธรรมศาสตร์ ข้อแรกนั้น เรายืนยันว่า ได้แจ้งแก่ผู้แทนที่กต. มอบให้เป็นผู้ประสานงานว่า พวกเรากำลังดำเนินการเพื่อขอความเห็นชอบจากบริษัทผู้ผลิตวัคซีน ในการที่จะให้ความเห็นชอบที่โปแลนด์จะบริจาคModerna ให้แก่มธ.ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐในประเทศไทย ซึ่งได้ดำเนินการคู่ขนานไปกับการขอให้ทาง กต. ทำจดหมายแจ้งไปยังโปแลนด์อยู่แล้ว การให้ความยินยอมนี้ จะเกิดง่ายขึ้นด้วยซำ้ หากมีจดหมายจาก กต.รับรองสถานะของธรรมศาสตร์อีกทางหนึ่งด้วย
ในประเด็นที่สอง เรื่องการแบ่งวัคซีนอีกหนึ่งล้านโดสให้เอกชนคู่สัญญานำไปจำหน่าย นั้น เราได้แจ้งแก่ผู้แทน กต.ตั้งแต่ต้นว่า การบริจาคครั้งนี้ เป็นการบริจาควัคซีนจากคลังสำรองในโปแลนด์ ผู้รับบริจาคจะต้องส่งคณะผู้เชี่ยวชาญไปตรวจสอบสภาพ สถานะ และลอตการผลิต ตลอดจนจัดเตรียม dossier ในการจัดส่งและตรวจสอบ จัดการในเรื่อง logisticในการนำวัคซีนไปยังสนามบิน จัดการในเรื่องการขนส่ง การประกันภัยวัคซีน พิธีการศุลกากร และการบริหารจัดการคลังเก็บวัดซีนในประเทศ ตลอดทั้งการประกันภัยผลข้างเคียงจากการได้รับวัคซีนเอง ซึ่งค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเรื่องเหล่านี้คิดเป็นเงินจำนวนหลายร้อยล้านบาท และในกรณีการรับบริจาคแอสตร้าเซนเนก้า
จากหลายประเทศ หลายครั้ง รัฐบาลไทยก็เคยเป็นผู้รับผิดชอบโดยใช้เงินงบประมาณของรัฐจ่ายไปทั้งหมด
เครดิต : รีวิวซีรี่ย์เกาหลี | ลายสัก | รีวิวร้านอาหาร | โทรศัพท์มือถือ ราคาถูก | เรื่องย่อหนัง